การพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

  • star
  • star
  • star
  • star
  • star
(Reccomment)
image description

Course Description


เอกสารประกอบหลักสูตร / Course Documentation


หลักการและเหตุผล

การจัดการเรียนการสอนในสาระการเรียนรู้ศิลปะกลุ่มทัศนศิลป์ เป็นศาสตร์ความรู้ที่ต้องใช้ทักษะและความคิดสร้างสรรค์ทั้งนี้ครูผู้สอนจึงต้องพัฒนาตนเองทั้งด้านทักษะ  ความคิดสร้างสรรค์   และทฤษฏีด้านศิลปะอย่างสม่ำเสมอ สร้างความหลากหลายและแรงจูงใจให้กับผู้เรียน

การจัดอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้านศิลปะและการออกแบบเพิ่มศักยภาพด้านเทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะและกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปะและการออกแบบที่มีความหลากหลายและทันสมัยสามารถสามารถบูรณาการกับท้องถิ่นและธรรมชาติของผู้เรียนด้วยองค์ความรู้ด้านทัศนศิลป์ ได้แก่ จิตกรรม  ภาพพิมพ์   ประติมากรรม  และสื่อประสม   การออกแบบ  การถ่ายภาพและการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยศิลปะและการออกแบบ   เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการสอนกลุ่มสาระศิลปะ เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปต่อยอดการประกอบอาชีพ  หรือสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกของโรงเรียน     รวมทั้งดัดแปลงให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้เรียนให้มีคุณภาพ  และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้  และเสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์สร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์ และดำเนินการด้านการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายทึ่มีคุณภาพ  ในการจัดการศึกษาทุกระดับต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ในโรงเรียนประถม  และโรงเรียนมัธยม
  2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบให้ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ให้มีกิจกรรมการสอนที่หลากหลาย  สร้างสรรค์  และทันสมัยสามารถสามารถบูรณาการกับท้องถิ่นและธรรมชาติของผู้เรียน

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  1. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ในระดับประถมศึกษา
  2. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ในระดับมัธยมศึกษา
  3. บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจด้านศิลปศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

  1. ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านศิลปะและมีความต้องการพัฒนาเทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะที่หลากหลาย  และพัฒนาเทคนิคการสอนด้านศิลปศึกษา

หลักสูตรอบรมต่อเนื่อง

 

เนื้อหาการอบรม

ศิลปะสร้างสรรค์ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ เทคนิคผสมศิลปะหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาให้สร้างความหลากหลายเกิดความคิดใหม่ (Creativity-Base Instruction) เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนของครูผู้สอนสาระศิลปะในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานทุนทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบในยุค 4.0

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ผ่านการอบรมสามารถพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  
  2. ผู้ผ่านการอบรมได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบสร้างเป็นกิจกรรมการสอนที่หลากหลาย  สร้างสรรค์  และทันสมัยสามารถสามารถบูรณาการกับท้องถิ่นและธรรมชาติของผู้เรียน

รายละเอียดเพิ่มเติม

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับมีดังต่อไปนี้

1 วัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม

2 การนำเสนอเลยแพร่ผลงานในลักษณะนิทรรศการ

3 เอกสารประกอบการฝึกอบรม

4 อาหารกลางวันและอาหารว่าง

loader